วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

ใ ห้ ท า น อ ย่ า งไ ร ??? จึ ง จ ะ ไ ด้ ผ ล ม า ก


ใ ห้ ท า น อ ย่ า งไ ร ??? จึ ง จ ะ ไ ด้ ผ ล ม า ก

ก่อนจะทำทานมีขั้นตอนดังนี้

1.บุพพเจตนา (คือ ก่อนให้ก็ดีใจ

2.มุญจนเจตนา (คือ ขณะให้ก็เลื่อมใส)

3.อปราปรเจตนา (คือ ครั้นให้ไปแล้วก็มีจิตที่แช่มชื่นเบิกบาน)

เรื่อง "บุคคลผู้ฉลาด ย่อมเลือกให้ทาน ที่มีผลมาก"

(อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาบทธรรม ตัณหาวรรคที่ ๒๔)

บุคคลควรเลือกให้ทาน ในเขตที่ตนให้แล้วจะมีผลมาก
เพราะการเลือกให้ พระสุคตทรงสรรเสริญ แล้วทานที่ให้ในท่านผู้เป็น ทักขิไณยบุคคล ในชีวโลกนี้ เป็นของมีผลมาก เหมือนพืชที่หว่านในนาดีฉะนั้น

"อานิสงค์แห่งทานบารมี"

ในทักขิณาวิภังคณาวิภังคสูตร พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ได้แสดงธรรมในผลแห่งทาน เป็นลำดับดังต่อไปนี้

• การให้ทานกับ "สัตว์เดรัจฉาน"

ผลของบุญ ๑๐๐เท่า
ความหมายคือ ให้อายุ วรรณะ(ผิวพรรณ)
สุข พละ(กำลัง)

ปฏิภาณ(ไหวพริบ
ความฉลาด) ร้อยเท่า
คือ ๑๐๐ ชาติ
ย่อมให้อายุ ๑๐๐ อัตภาพ

๑๐๐ ชาติ ที่เกิดมีอายุยืน ให้มีผิวพรรณดี ๑๐๐ ชาติ ให้มีความสุข ๑๐๐ ชาติ ๑๐๐ อัตภาพ ให้มีกำลัง(พละ) ๑๐๐ ชาติ
ให้มีปฏิภาณ ๑๐๐ ชาติ

นี่คือ ผลของบุญที่ให้ทาน ทำบุญกับสัตว์เดัจฉาน

• ให้ทานกับ "ผู้ทุศีล" คือ ไม่มีศีล
ผลของบุญ ๑,๐๐๐ เท่า คือ ให้อายุ วรรณะ สุข พละ

และปฏิภาณ ๑,๐๐๐ ชาติ ตามนัยที่อธิบายเดียวกันกับ การให้ทานกับสัตว์เดรัจฉาน

ให้ทานกับ "ปุถุชนผู้มีศีล" พึงหวังผลของบุญ ๑๐๐,๐๐๐ เท่า คือ ให้อายุ วรรณะ สุข พละ และปฏิภาณ ๑๐๐,๐๐๐ ชาติ

• ให้ทานใน "บุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม"

หมายถึง ผู้ที่อบรมสมถภาวนา จนได้ฌาน พึงได้ผลของบุญ ๑๐๐,๐๐๐โกฎเท่า

คือ ได้ผลของบุญ คือ อายุ วรรณะ สุข พละและปฏิภาณดีๆ แสนโกฎิชาติ(ล้านล้านชาติ)

• ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำ "โสดาปัตติผลให้แจ้ง หมายถึง เช่น ผู้ที่อบรมเจริญวิปัสสนา เจริญสติปัฏฐาน

และรวมถึง ผู้ที่ถึงโสดาปัตติมรรคจิต ผู้ที่ทำบุญกับคนเราเหล่านี้ ได้ผลของบุญ อานิสงส์นับไม่ถ้วน หมายถึง ได้ อายุ วรรณะ สุข พละ และ ปฏิภาณ นับชาติไม่ถ้วนเลย

จะกล่าวไปใย ผู้ที่เป็นพระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ในสาวกของพระพุทธเจ้า

พระปัจเจกพุทธเจ้า และในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในบุคคลเหล่านี้ที่มีคุณเลิศเหล่านี้ก็ยิ่งมีบุญหาประมาณไม่ได้เช่นกัน

คือ นับชาติไม่ถ้วนและประมาณผลแห่งทานมิได้ คือ เกิดผลแห่งบุญกุศลมากมายนับประมาณมิได้เลย

ทำบุญอย่างไรถึงจะได้บุญมาก การทำบุญให้ได้บุญมากมีองค์ประกอบ ๓ อย่าง คือ

๑. วัตถุบริสุทธิ์ คือของที่เราให้ทาน ต้องได้มาด้วยความชอบธรรม ถ้าไปขโมยของเขามาทำบุญ บุญก็ได้นิดหน่อย เพราะวัตถุไม่บริสุทธิ์

๒. เจตนาบริสุทธิ์ คือมีศรัทธาทั้งก่อนให้ ขณะให้ และหลังจากให้

เราเคยสงสัยไหมว่าทำไมเศรษฐีบางคนรวยมากแต่ขี้เหนียว ไม่ค่อยยอมใช้ทรัพย์ของตัวเอง

รวยมหาศาล แต่เวลาจะซื้อมะม่วง กินต้องเอาลูกที่เริ่มเน่า แล้วมาตัดที่เน่าออก กินที่เหลือ เสื้อผ้าดี ๆ ไม่ยอมใช้ ใช้ปุ ๆ ปะ ๆ อย่างนี้

เป็นเพราะตอนมีศรัทธาก็ทำบุญ แต่พอทำเสร็จเรียบร้อย แล้วนึกเสียดาย แบบนี้ถึงเวลามีทรัพย์จะใช้ทรัพย์ไม่เต็มอิ่ม ทุกอย่างมีที่มาที่ไป เป็นเรื่อง ของเหตุกับผลตามกฎแห่งกรรม

๓. บุคคลบริสุทธิ์ หมายถึง ผู้รับเป็นผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์ เช่น

พระภิกษุมีศีล ๒๒๗ ข้อ ถ้าผู้รับเป็นคนธรรมดาแต่มีศีล ๘ ก็ยังดี ศีล ๕ ก็รองลงมา

ไม่มีศีลรองลงมา ถ้าเป็นสัตว์เดรัจฉานก็รองลงมาอีก

คุณธรรมของผู้รับยิ่งสูงเท่าไรบุญก็ยิ่งมากขึ้น ตามส่วน ตักบาตรพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุญจะมากขึ้นตามส่วน เพราะเมื่อท่านรับวัตถุทานจากเราไปแล้ว ท่านเอากำลังเรี่ยวแรงที่เกิดขึ้นไปใช้

ทำความดี ทำสิ่งที่เป็นกุศลได้มาก พระพุทธเจ้าทรงรับอาหารที่เราถวาย ไปแล้วเกิดบุญมหาศาล เพราะเมื่อพระองค์เสวยเสร็จ

แค่ไปเทศน์สอนประชาชน หรือนั่งธรรมะทีหนึ่ง เราก็ได้ส่วนแห่งบุญมหาศาล เพราะพระองค์หมดกิเลสแล้ว และเป็นพระพุทธเจ้าด้วย

ส่วนผู้ให้ก็มีความสำคัญ เพราะฉะนั้นก่อนจะ ทำบุญให้รับศีลก่อน

พอรับศีลแล้วไปทำบุญอย่างน้อย ขณะนั้นศีล ๕ ครบบริบูรณ์ บุญจะได้มากขึ้นไปอีกส่วนหนึ่ง

แต่สู้คนที่ถือศีลสม่ำเสมอไม่ได้ ผู้ให้มีศีลบริสุทธิ์มากเท่าไร บุญก็มากตามส่วนเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น